Friday, February 7, 2020

คุณค่า"อดีต"

คุณค่า"อดีต" วันก่อน. มีโอกาสได้คุยกับดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ภาษาจีนแต้จิ๋วมาคำหนึ่งครับ "เปี่ยงเจี๊ย" คำนี้คำเดียวเป็นคำเปลี่ยนชีวิตของ"วิชิต" เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นตอนที่เขาอายุ 22 ปี. เพิ่งเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครอบครัวของ"วิชิต"ทำโรงงานกล่องกระดาษ ตอนที่ยังเรียนอยู่. เขาก็เริ่มเข้ามาช่วยงานของครอบครัว. คุมโรงงาน ดูแลเครื่องจักร ตอนแรกธุรกิจของครอบครัวก็รุ่งเรืองดี. แต่ยิ่งนานวัน คู่แข่งก็เพิ่มขึ้น. เครื่องจักรก็ทันสมัยกว่าโรงงานของเขา ธุรกิจเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ. คุณพ่อของ ดร.วิชิต เป็นเพื่อนกับคุณอุเทน เตชะไพบูลย์ มาตั้งแต่เด็ก ในยุคนั้น "อุเทน" ถือเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย เป็นเจ้าของแบงก์ศรีนคร ตระกูลเตชะไพบูลย์ยิ่งใหญ่มาก ทั้ง "อุเทน" และคุณพ่อดร.วิชิต เป็นคนที่ชอบช่วยเหลือสังคมเหมือนกัน คุณพ่อ ดร.วิชิต เป็นนายกสมาคมแต้จิ๋ว. ส่วน"อุเทน" เป็นประธานกรรมการมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ทั้งคู่คบหากันมานาน จนวันที่โรงงานกล่องกระดาษย่ำแย่. ต้องการเงินก้อนหนึ่งเพื่อนำไปซื้อเครื่องจักรใหม่มาสู้กับคู่แข่ง คนแรกที่เขาคิดถึงคือ "อุเทน" เพื่อนเก่า "แต่คุณพ่อเป็นคนรักษาหน้า ไม่ยอมไปกู้เงินจากคุณอุเทน". คนที่รับหน้าที่ไปเจรจากับเจ้าของแบงก์ศรีนคร จึงเป็น "วิชิต" เขาไปนั่งรอหน้าห้องคุณอุเทนตั้งแต่เช้า. มีคิวก่อนหน้าเขาหลายคน จนเที่ยง คุณอุเทนจึงชวนเขาไปนั่งกินข้าวกลางวันในห้องทำงานด้วยกัน คุยกับแบบ"อา-หลาน" เขาเริ่มเล่าปัญหาของโรงงานให้ฟัง. คุยถึงวิธีคิดในการแก้ปัญหา. ก่อนจะเอ่ยปากขอกู้เงินเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ "เท่าไร" "สามล้านสี่แสนบาทครับ" "มีอะไรค้ำประกัน" "ไม่มีครับ.บ้านก็จำนองไปแล้ว" ดร.วิชิตเล่าว่าตอนนั้นสถานะทางบ้านแย่มาก. บ้านและโรงงานก็เอาไปจำนอง. ไม่เหลืออะไรเลย "อะไรนะ" คุณอุเทนอุทาน" แล้วจะปล่อยกู้ได้อย่างไร" "วิชิต"บอกว่าวินาทีนั้น เขาตัดสินใจบอกกับเจ้าสัวอุเทนตรง ๆ "ตัวผมเป็นหลักประกันครับ" "วิชิต" เล่าว่าคุณอุเทนอึ้งไป. มองตาเขาด้วยท่าทีครุ่นคิด พักหนึ่ง เจ้าของแบงก์ศรีนครก็ถอนใจ เอ่ยประโยคเปลี่ยนชีวิตของเขา "เปี่ยงเจี๊ย...เปี่ยงเจี๊ย" แล้วพยักหน้า....อนุมัติ "เปี่ยงเจี๊ย"เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วครับ. แปลว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ ในอารมณ์ประมาณว่าจำยอม คำพูดของดร.วิชิตที่บอกว่า "ผมเป็นหลักประกัน" นั้นจะไม่มี "ความน่าเชื่อถือ" เลย ถ้าระหว่างการสนทนากับเจ้าสัวอุเทน. เขาไม่แสดงให้เห็นว่ารู้เรื่องธุรกิจนี้อย่างดี ทุกคำถามของ "อุเทน" เขาตอบได้หมดเพราะทำมากับมือ แต่คำพูดของเขาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง. เพราะสิ่งที่น่าเชื่อถือที่สุดกลับเป็นคุณพ่อของเขาที่ไม่ได้มาด้วย ช่วงเวลาที่คุณอุเทนครุ่นคิดนั้น. ดร.วิชิตเชื่อว่าเขากำลังคิดถึงความสัมพันธ์เก่า ๆ นิสัยใจคอ และความรับผิดชอบของคุณพ่อ ก่อนจะตัดสินใจอนุมัติให้"วิชิต"กู้เงิน 3.4 ล้านบาท คุณอุเทนให้เหตุผลกับ "วิเชียร เตชะไพบูลย์" ลูกชายที่รับผิดชอบเรื่องนี้ด้วยประโยคสั้น ๆ. "พ่อเขาเป็นคนดี" คุณพ่อของดร.วิชิตเป็นคนทำงานจริง ใจกว้าง มีน้ำใจกับเพื่อนฝูง. ทำอะไรโดยไม่หวังผล เขาคงไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เขาทำในอดีตจะส่งผลถึงมาถึงปัจจุบัน คำว่า"เปียงเจี๊ย"เพียงคำเดียว. พลิกชีวิตของ "วิชิต" และครอบครัว. ถ้า "อุเทน" ไม่ให้เขากู้เงินในวันนั้น. โรงงานกล่องกระดาษก็คงเจ๊ง "วิชิต" บอกว่าวันที่เป็นนายแบงก์เอง หลายครั้งที่เขาต้องเจอห้วงเวลาแบบเดียวกับ "อุเทน" ถ้ายอดเงินกู้ไม่มากนัก. ไม่มีผลกระทบต่อสถานะของแบงก์ เขาจะนึกถึงวันนั้น วันที่เขานั่งอยู่ข้างหน้าเจ้าสัวอุเทน. คนที่เคยลำบากจะเข้าใจถึงความลำบาก วินาทีนั้นมีเพียง 2 ทางเลือก จะ "เชื่อ" หรือ "ไม่เชื่อ"ลูกค้าคนนี้. ถามว่า "ความเชื่อ" นั้นจะเกิดขึ้นจากอะไร. ไม่ใช่เรื่องราวใน "ปัจจุบัน" หรือโครงการที่สวยหรูใน "อนาคต" แต่เป็น "อดีต". นิสัยใจคอของคนนั้น. ความรับผิดชอบ การใช้ชีวิตเครดิตทางการเงิน ฯลฯ ทั้งหมดจะผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า "ความเชื่อ" "ความเชื่อ"ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่วันเดียว. แต่ต้องสั่งสม "อดีตที่ดี" มาอย่างยาวนาน. "ความเชื่อ" จึงเป็นหลักทรัพย์ที่ไม่มี "มูลค่า" แบบอสังหาริมทรัพย์ แต่มี "คุณค่า" ยิ่งกว่า